• บริการแปลงวีดีโอ คุณภาพสูง
    WELCOME TO VDOSERVICE
    ท่านที่ถ่ายกล้องวีดีโอ Vhs-c หรือท่านที่มีม้วนวีดีโอ vhs ที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของท่าน และต้องการนำลงแผ่นดีวีดี dvd ปรึกษาเราสิครับ!!!

    รับบริการ แปลงวีดีโอ วิดีโอ vdo แปลงม้วนวีดีโอ cassette เทป vhs vhs-c ให้เป็น ดีวีดี dvd ด้วยบริการที่ประทับใจ รับประกันคุณภาพเทียบเท่าต้นฉบับ

    โทรคุยกันได้ทุกวัน 09:00-17:00

    โทร. 081-620-6165 คุณวันชัย

    อัตราค่าบริการ
    แปลงเป็น DVD ม้วนละ 170 บาทความยาวไม่เกิน 1 ชั่วโมง ถ้าเกิน 1 ชั่วโมง คิดตามเวลาที่เกิดขึ้นจริงครับ

บริการ แปลง วีดีโอ คุณภาพสูง

จันทร์ - อาทิตย์ เวลา 9:00 - 17:00 น. (ไม่เว้นวันหยุด)
บริการรับ - ส่ง ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนทั่วประเทศ

คุณวันชัย ตระกลกุล
117/418 หมู่บ้านบัวทอง ซ.9/8
ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ต.บางรักพัฒนา
อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110

โทร. 081-620-6165 คุณวันชัย
อีเมล : vdoservice@gmail.com
Line ID : vdoservice
Add line : http://line.me/ti/p/GjZg81R5mE

vdoservice_line

มาตรฐานของวิดีโอ

มาตรฐานของวิดีโอมีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ คือ VCD , SVCD DVD และ BD ซึ่งคุณภาพของวิดีโอก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท โดยแต่ละรูปแบบก็มีคุณสมบัติดังนี้
- VCD ( Video Compact Disc ) เป็นรูปแบบของวิดีโอที่ได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปประกอบด้วยภาพและเสียงแบบดิจิตอล ความจุของแผ่น VCD โดยปกติจะอยู่ที่ 74/80 นาทีหรือประมาณ 650/700 เมกกะไบต์ โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ MPEG – 1 มีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 352 x 288 พิกเซลในระบบ PAL และ 352 x 240 พิกเซลในระบบ NTSC คุณภาพของวิดีโอใกล้เคียงกับเทป VHS ซึ่งสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไปหรือจากไดรฟ์ซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์ และแผ่นซีดีที่ใช้เขียน VCD ได้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือแผ่น CD-R ซึ่งเป็นชนิดที่เขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว และแผ่น CD-RW ที่สามารถเขียนและลบเพื่อเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ แต่แผ่น CD-RW มักจะอ่านไม่ได้จากจากเครื่องเล่น VCD หลายๆ รุ่น
- SVCD ( Super Video Compact Disc ) เป็นรูปแบบของวิดีโอที่คล้ายกับ VCD แต่จะให้คุณภาพของวิดีโอทั้งในด้านภาพและเสียงที่ดีกว่า โดยเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ MPEG – 2 จะมีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 482 x 576 พิกเซลในระบบ PAL และ 480 x 480 พิกเซลในระบบ NTSC ซึ่งแผ่นประเภทนี้ยังมีเครื่องเล่น VCD หลาย ๆ รุ่นที่อ่านไม่ได้ โดยจำเป็นต้องอ่านจากเครื่องเล่น DVD หรือ VCD บางรุ่นที่สนับสนุนหรือเล่นจาก CD – ROM จากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
- DVD ( Digital Versatile Disc ) เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ VCD หลายเท่าตัว โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่ 720 x 480 พิกเซลในระบบ PAL และ 720 x 576 พิกเซลในระบบ NTSC โดยมาตรฐานของแผ่น DVD ก็มีหลายประเภท เช่น DVD + R/RW , DVD – R/RW , DVD + RDL และ DVD + RAM ซึ่งความจุของแผ่น DVD ก็มีให้เลือกใช้ตามชนิดของแผ่น โดยมีตั้งแต่ 4.7 กิกะไบต์ไปจนถึง 17 กิกะไบต์ ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้อย่างสบาย ซึ่งคาดการณ์กันว่าสื่อประเภท DVD คงจะเข้ามาแทนที่ VCD ได้ในไม่ช้า แผ่นดีวีดีนั้น ดูๆ ไปมันก็ไม่ต่างไปจากแผ่นซีดีหรอกครับ เพียงแต่ว่ามันมีความจุที่มากกว่ามากๆ โดยมาตรฐานของแผ่นดีวีดีแล้ว มันจะมีความจุมากกว่าแผ่นซีดีถึงเจ็ดเท่าทีเดียว ซึ่งด้วยขนาดความจุที่มากมายขนาดนี้นี่เอง ที่ทำให้เจ้าแผ่นดีวีดีสามารถที่จะบันทึกข้อมูลภาพยนตร์ที่เข้ารหัสแบบ MPEG-2 ได้เต็มๆ ซึ่งลักษณะของภาพยนตร์ในรูปแบบดีวีดีนั้นมีดังนี้ครับ
• สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
• การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 40:1
• สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยมีระบบเสียง 5.1 Channel Dolby Digital Surround Sound
• มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
• ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย
• นอกเหนือไปจากความสามารถที่เอ่ยถึงไป หากเราเอาแผ่นดีวีดีมาใช้บันทึกข้อมูล ภาพและเสียงด้วยระดับคุณภาพของซีดี ก็จะสามารถบันทึกได้นานถึงเกือบ 8 ชั่วโมง ทีเดียว!! (เพียงแต่ว่าไม่มีใครเขาทำกันเท่านั้นเองครับ)
- BD ( Blu-ray Disc ) มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ

Read more now

กล้องวีดีโอ

กล้องวีดีโอ เป็นเครื่องมือหลักในการทำสื่อโทรทัศน์ คุณภาพและราคารวมทั้งลูกเล่นต่างๆก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและจุดขายที่แต่ ละค่ายออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วที่เหมือนกันคือเพื่อบันทึกภาพ และกล้องวีดีโอที่เรียกว่า "โฮมยูส" หรือแบบ "แฮนดี้แคม" จะเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้ การควบคุมและการสั่งการต่างๆจะออกแบบมาให้ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน การใช้กล้องวิดีโอ ในปัจจุบันนิยมใช้กล้องวิดีโอแบบดิจิตอล เนื่องจากกล้องประเภทนี้มีความคมชัด และมีความละเอียดของภาพสูง จึงมีลักษณะใกล้เคียงความจริงสามารถเขียนบันทึกลงแผ่น CD หรือ DVD ได้ทันที กล้องวิดีโอดิจิตอลได้พัฒนามาถึงระบบบันทึกด้วยฮาร์ดดิสก์(Hard Disk Camcorder) มีขนาดเล็กกะทัดรัด มีความจุสูงสามารถบันทึกวิดีโอได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และสามารถเลือกโหมด Ultra ที่ให้คุณภาพสูงสุดระดับ DVD
ประเภทของกล้องวิดีโอ
1.กล้องถ่ายวีดีโอแบบอนาล็อก คือ กล้องที่บันทึกข้อมูลแบบความถี่ของสัญญาณ มีลักษณะคล้ายเส้นกราฟ ขึ้นและลง มีรูปแบบของการบันทึกข้อมูลลงเทป
2.กล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล มี 3 รูปแบบได้แก่
2.1 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ VHS เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบม้วนเทป
2.2 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ 8 mm เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบม้วนเทปขนาด 8 mm
2.3 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ Hi เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบ ม้วนเทป ระบบ Hi8 คล้ายกับระบบ 8 mm แต่คุณภาพสูงกว่า
การใช้งานกล้องวิดีโอเพื่อให้เกิดประโยชน์ การเลือกใช้งานกล้องวิดีโอต้องเลือกใช้งานให้ตรงตามความถนัด และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ใช้เช่น การใช้กล้องวิดีโอเพื่อการทำสารคดี การบันทึกวิดีโองานเลี้ยงสังสรรค์งานประเพณี เป็นต้น
ข้อมูลพื้นฐาน ที่ใช้ในการตัดสินใจ เลือกใช้กล้องวิดีโอ ก่อนการเลือกซื้อกล้องวิดีโอ เราควรศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับกล้องวิโอ เพื่อให้สามารถเลือกซื้อกล้องวิดีโอได้อย่างสมบรูณ์แบบ และคุ้มค่ากับทุนที่ซื้อมากที่สุดเพราะ กล้องวีดีโอเป็นเครื่องมือหลักในการทำสื่อโทรทัศน์ คุณภาพและราคารวมทั้งลูกเล่นต่างๆก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและจุดขายที่แต่ ละค่ายออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วที่เหมือนกันคือเพื่อบันทึกภาพ และกล้องวีดีโอที่เรียกว่า "โฮมยูส" หรือแบบ "แฮนดี้แคม" จะเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้ การควบคุมและการสั่งการต่างๆจะออกแบบมาให้ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน
เทคนิคการเลือกซื้อกล้องวิดีโอ
1.ประมาณค่างบประมาณในการซื้อ
2.วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เลือกกล้องให้ตรงกับงานที่ต้องการใช้ เช่น ใช้แบบพกพา ถ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา , ถ่ายกลางแดดธรรมดา หรือในที่มืด หรือถ่ายใต้น้ำ , ถ่ายเพื่อลงYoutube หรือ ถ่ายไว้ดูเล่น , ถ่ายแบบง่ายๆ หรือถ่ายแบบนักทำหนังมืออาชีพ
3.ดูค่าความละเอียด ปัจจุบันนิยมใช้กล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอลมีทั้งแบบ SD (standard definition) และแบบ HD (high definition) สำหรับแบบ SD ราคาจะถูกกว่าแบบHD เพราะเหมาะสำหรับการถ่ายวิดีโอธรรมดาสำหรับดูด้วยคอมพิวเตอร์หรือทีวีแบบธรรมดา แต่สำหรับกล้องถ่ายดิจิตอลแบบ HD นั้นจะบันทึกภาพได้ด้วยความละเอียดที่สูงกว่าเพื่อแสดงบน HDTV ได้อย่างคมชัด ละเอียด สมจริง
4.เลือกรูปแบบการจัดเก็บภาพและเสียง มีการบันทึกเสียงที่ชัดเจน สามารถปิดเสียงโดยรอบได้ ขณะบันทึกช่องของเสียงและการเคลื่อนไหวของภาพ ตรงกัน และชัดเจน เก็บเสียงได้โดยรอบ
5.ความสามารถพิเศษของกล้อง
ความสามารถพิเศษที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของรุ่นเพื่อแยกความแตกต่าง ทำให้ราคาของกล้องต่างกันมีดังนี้
1. Optical zoom : เพื่อให้ขยายภาพได้อย่างชัดเจน ขนาดการซูมจึงสำคัญ กล้องบางรุ่นซูมได้ถึง 48x
2. Image Stabilization : ช่วยป้องกันภาพสั่น จากการถือกล้องสั่น โดยเฉพาะในขณะซูมภาพระยะไกล
3. Photo Feature : บางรุ่นสามารถใช้กล้องถ่ายภาพนิ่ง และสามารถปรับการถ่ายภาพนิ่งแบบต่างๆ ได้
4. Audio Recording : กล้องถ่ายวิดีโอบางรุ่น เพิ่มความสมจริงให้กับระบบการอัดเสียง ด้วยระบบการอัดแบบ Dolby Digital surround 5.1 ที่ให้คุณเปิดเสียงฟังจากชุดโฮมเธียร์เตอร์ของคุณได้อย่างสมจริง

Read more now

ชนิดของวิดีโอ

วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. วิดีโออนาล็อก (AnalogVideo) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและ เสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า มีลักษณะการบันทึกข้อมูลที่ให้ความคมชัดต่ำ กว่าวิดีโอแบบดิจิตอล วิดีโออนาล็อกจะใช้ เทป VHS (Video Home System) หรือ Hi – 8 ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลจะทำให้ได้วิดีโอที่มี ความคมชัดต่ำ
2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
- National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace)ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
- Phase Alternate Line (PAL) เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
- Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720

Read more now

แผนที่ vdoservice 117/418 หมู่บ้านบัวทอง ซ.9/8


ดู vdoservice หมู่บ้านบัวทอง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า